Symbian Series60 ดีอย่างไร?
ท่านผู้อ่านส่วนใหญ่นี้ กระผมเชื่อว่า มากกว่า 70% นั้นจะต้องรู้จักโทรศัพท์มือถือ Smart Phone ระบบปฏิบัติการ Symbian Series60 เป็นแน่แท้ ซึ่งหลายๆ ท่านเช่นกัน เคยตั้งคำถาม และสงสัยกันว่า เจ้า Smart Phone หรือ Symbian เนี่ย มันดีกว่า และทำอะไรได้บ้างที่โทรศัพท์ธรรมดาทั่วๆ ไปทำไม่ได้ หากได้อ่านบทความนี้แล้ว คงจะได้เห็นความแตกต่างอยู่พอสมควรเลยล่ะครับ เพราะว่า Symbian Series60 นี้ มีโปรแกรมรองรับมากมายเหลือเกิน คงเลือกนำไปใช้ กันไม่ถูกแน่ๆ ครับ |
![]() |
รูปที่1: ตัวอย่างโทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการ Symbian Series60
ก่อนอื่น ต้องขอบอกนิดนึงก่อนว่า Symbian Series60 นั้น ในปัจจุบันนี้ มีมากมายเหลือเกิน และที่ได้รับความนิยม มีวางจำหน่ายมากมายในประเทศไทย ก็มีดังต่อนี้ กระผมก็เลยจะขอแนะนำโปรแกรมประเภทต่างๆ ที่สำคัญๆ แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ของโปรแกรมสำหรับ Symbian Series60 ให้ท่านผู้อ่านได้ลงกันตามใจชอบ ดังนี้ 1. File Manager |
![]() |
รูปที่2: โปรแกรม SeleQ
|
![]() |
รูปที่3: โปรแกรม Fileman
|
![]() |
รูปที่4: โปรแกรม FExplorer
|
![]() |
รูปที่5: โปรแกรม Handy File
|
![]() |
รูปที่6: โปรแกรม Profi Explorer
File Manager นี้ นับว่าเป็นหัวใจสำคัญของโทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการ Symbian เลยก็ว่าได้ เพราะว่า File Manager นี้ สามารถช่วยลงโปรแกรมต่างๆ แทนเมนู Manager ในเครื่องได้ ดูรูป ดูหนัง ฟังเพลงได้หมด ลบไฟล์ที่ไม่ต้องการ หรือแม้กระทั่งการจับภาพหน้าจอก็ยังไหว เรียกได้ว่ามีไว้สำหรับจัดการกับตัวเครื่อง และในหน่วยความจำได้อย่างแท้จริง ซึ่ง File Manager ที่ผู้เขียนแนะนำนั้น คงหนีไม่พ้นโปรแกรม SeleQ, FileMan, FExplorer, Handy File และ ProfiExplorer ที่แถมมากับโปรแกรม ProfiMail อย่างแน่นอน File Manager ทั้ง 5 โปรแกรม ที่ยกตัวอย่างมานั้น มีประโยชน์ทัดเทียมกัน ควรเลือกลงเพียง 1 ใน 5 ตัวก็เพียงพอแล้วล่ะ หมายเหตุ: 2. โปรแกรมภาษาไทย |
![]() |
รูปที่7: โปรแกรม Thai Pluz
|
![]() |
รูปที่8: โปรแกรม Smart Thai
|
![]() |
รูปที่9: โปรแกรม P-KeyPop
|
![]() |
รูปที่10: โปรแกรม Easy Thai
อย่างที่รู้กันแต่แรกแล้วว่า Symbian Series60 นี้ ไม่รองรับภาษาไทย หากแต่ต้องลงโปรแกรมเพิ่มเติมเอง ซึ่งจะมีภาษาไทยค่ายใหญ่ๆ อยู่ด้วยกัน 4 โปรแกรม คือ Thai Pluz, Smart Thai, Easy Thai และ P-Keypop ซึ่งโปรแกรมภาษาไทยนั้น ควรจะลงแค่เพียง 1 โปรแกรมเท่านั้น และจำเป็นต้องลงใน Phone memory ด้วย เพราะว่าโปรแกรมภาษาไทยนั้นจะไปเกี่ยวข้องกับระบบของเครื่อง มักจะเกิดปัญหากับการลงโปรแกรมภาษาไทยในหน่วยความจำภายนอกที่ถูกถอดออก หรือเปิด/ปิดเครื่องบ่อยๆ อาจเกิดการรวนได้ 3. โปรแกรม Dictionary |
![]() |
รูปที่11: โปรแกรม Lek Lek Dict
3.1) Lek Lek Dict เป็น Dictionary ที่เขียนโดย J2ME ที่ไม่ใช่ Symbian Series60 ก็สามารถนำไปใช้ได้ เช่น Sony Ericsson P900, K700, S700 เป้นต้น มีจุดเด่นที่สามารถแปลศัพท์สลับได้ทั้ง ไทย/Eng และ Eng/ไทย สามารถ Download ได้จาก http://project-ile.net/lulu/ |
![]() |
รูปที่12: โปรแกรม NDict
3.2) NDict(Ninja Dict) เป็น Dict Eng->Thai ซึ่งได้ไปหยิบยืม DataBase มาจาก LekLekDict v0.2.1 ที่คุณ pruet เขียนขึ้นมา มีลักษณะคล้ายๆ กัน เพราะพัฒนามาจาก J2ME เช่นกัน สามารถ Download ได้จาก http://ninja.smart-mobile.com/ |
![]() |
รูปที่13: โปรแกรม PDictionary
3.3) P-Dictionary เป็นโปรแกรมใช้สำหรับแปลคำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย โดยสามารถค้นหาคำศัพท์ได้เร็วเป็นยอด ตัวโปรแกรมเป็น Midlet (J2ME) สามารถใช้งานกับ Nokia Smartphone รุ่น 7650, 3650, N-Gage, 6600 หรือรุ่นอื่น ๆ ที่ใช้ Symbian OS สามารถ Download ได้จาก http://pjack.smart-mobile.com/?section=3 |
![]() |
รูปที่14: โปรแกรม Smart Dict
3.4) SmartDict เป็นพจนานุกรม อังกฤษ-ไทย ไทย อังกฤษ บรรจุคำศัพท์มากกว่า 46,000 คำ ด้วยการบีบอัดข้อมูลหลายชั้น ทำให้ฐานข้อมูลคำศัพท์เล็กพอที่จะใส่ลงไปในโทรศัพท์มือถือได้ และสามารถค้นหาคำศัพท์ได้อย่างรวดเร็ว ใช้ฐานข้อมูลคำศัพท์ของท่าน สอ เสตบุตร เป็นโปรแกรมลิขสิทธิ์ ตัวโปรแกรมเป็น .sis สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก http://www.createchsoftware.com/new2/products.php?code=004 4. โปรแกรมเล่น internet |
![]() |
รูปที่15: โปรแกรม Opera
|
![]() |
รูปที่16: โปรแกรม Doris Browser
|
![]() |
รูปที่17: โปรแกรม Net Front
สำหรับผู้ที่ชอบการท่องเวบ คงอดไม่ได้ที่จะต้องมีโปรแกรมเล่น Internet ในมือถือแน่นอน โดยที่โปรแกรมเล่น Internet นั้น ก็จะมีด้วยกัน 3 โปรแกรมที่น่าสนใจ นั่นคือ Opera Browser, Doris Browser และ Net Front โดยที่ควรจะลงโปรแกรมไว้ในหน่วยความจำภายนอกครับ ทางผู้เขียนแนะนำให้ใช้ Opera Browser หรือ Doris Browser เพราะว่าแสดงผลได้สวยงาม และใช้งานสะดวกครับ 5. โปรแกรม Block เบอร์คนโทรเข้า |
![]() |
รูปที่18: โปรแกรม Balck List
|
![]() |
รูปที่19: โปรแกรม Black Baller
|
![]() |
รูปที่20: โปรแกรม Auto Pilot
|
![]() |
รูปที่21: โปรแกรม Advanced Call Manager
โปรแกรม Block เบอร์คนโทรเข้านั้น ควรจะมีติดเครื่องไว้ก็จะดี เพราะอาจมีพวกโทรศัพท์โรคจิตโทรมากวนใจได้ โดยที่โปรแกรม Block เบอร์โทรศัพท์นั้น มีมากมาย หลายยี่ห้อเหมือนกัน ซึ่งกันเช่นเดิม ควรเลือกลงแค่ 1 โปรแกรม ลงใน Phone memory เท่านั้นครับ มิเช่นนั้นเครื่องอาจจะรวนได้ โปรแกรม Block เบอร์โทรศัพท์แต่ละตัว ก็มีความสามารถคล้ายๆ กัน คือ สามารถเลือกรับสาย และปฏิเสธสายได้ โดยมีโปรแกรมที่น่าสนใจดังนี้ Black List, Advanced Call Manager, Auto Pilot และ Black Baller 6. โปรแกรมป้องกันไวรัส |
![]() |
รูปที่22: โปรแกรม Jamanda Cabir Fix
|
![]() |
รูปที่23: โปรแกรม F-Secure (F-Cabir)
|
![]() |
รูปที่24: โปรแกรม Simworks Anti-Virus
|
![]() |
รูปที่25: โปรแกรม TSG Phone Safe
แน่นอนว่าทุกวันนี้ สาวก Symbian Series60 คงต้องระวังไวรัสกันมากขึ้น เพราะตั้งแต่เจ้าไวรัส Cabir ที่ติดกันได้ง่าย ผ่าน Bluetooth ได้ออกมาแพร่ระบาดเมื่อประมาณ 8 เดือนที่แล้ว ก็ควรจะมีโปรแกรมป้องกันไวรัสประดับเครื่องเอาไว้ ตัวโปรแกรมมีขนาดเล็ก ประมาณ 20-30 kb เท่านั้น โดยในปัจจุบัน โปรแกรมป้องกันไวรัสที่สำคัญๆ คือ Jamanda Cabir Fix, F-Secure, TSG Phone Safe จะทำการค้นหา และลบไวรัสออกจากเครื่องทันทีที่เปิดโปรแกรม และโปรแกรม Simworks Anti-Virus จะสามารถตั้งเวลา Scan Virus ได้ถี่เท่าที่คุณต้องการ 7. โปรแกรม Chat |
![]() |
รูปที่26: โปรแกรม Agile Messenger
|
![]() |
รูปที่27: โปรแกรม IM Plus
วัยรุ่นวัยมันส์คงพลาดการ Chat ไม่ได้แน่ๆ แต่เจ้า Series60 จะไม่ทำให้คุณผิดหวัง เพราะสามารถ Chat กับผู้อื่นได้ โดยที่ในปัจจุบัน โปรแกรม Chat ที่นิยมเป็นอย่างมากคงหนีไม่พ้น MSN Messenger หรือ Yahoo Messenger ซึ่งสามารถเล่นได้ ผ่านโปรแกรม Agile Messenger ที่เปิดให้ Download ได้ฟรีที่ http://www.agilemobile.com หรือโปรแกรม IM Plus ก็มีลักษณะคล้ายๆ กัน ถ้าหากไม่อยากจะเสียค่า GPRS ก็มีโปรแกรม Chat ผ่าน Bluetooth มาให้ใช้กัน คือโปรแกรม MobiLuck นั่นเอง 8. โปรแกรมรับ-ส่ง e-mail |
![]() |
รูปที่28: โปรแกรม ProfiMail
|
![]() |
รูปที่29: โปรแกรม E-mail Sender
เจ้าโทรศัพท์ฉลาดนี้ สามารถรับ-ส่ง e-mail ได้ด้วย ทำให้คุณไม่พลาดในการรับข่าวสารสำคัญในชีวิตประจำวันได้ โดยที่มีโปรแกรมพื้นฐานอย่าง ProfiMail ที่เมื่อนำไปใช้แล้ว จะมีโปรแกรม ProfiExplorer แถมมาด้วย และโปรแกรม E-mail Sender มาช่วยจัดการกับระบบ e-mail ของคุณได้อย่างง่ายดาย 9. โปรแกรมอ่าน EBook |
![]() |
รูปที่30: โปรแกรม Repligo Viewer
หลายๆ ท่านคงยังงงๆ ว่า EBook คืออะไร ผมก็ขออธิบายสั้นๆ ว่า EBook บนมือถือเนี่ย ก็เหมือนกับการอ่านนิยายต่างๆ บนโทรศัพท์มือถือนั่นเอง เหมาะสำหรับผู้รักการอ่านเป็นชีวิตจิตใจ และ Symbian Series60 ก็ทำได้เช่นกัน ที่เห็นจะเป็นที่นิยมสูงสุด คงหนีไม่พ้นโปรแกรม RepliGo Viewer ที่มีความสามารถแปลงข้อมูลในเอกสาร Microsoft Word ให้เป็นไฟล์ EBook นามสกุล .rgo ได้ 10. โปรแกรมเพิ่มความสามารถกล้อง |
![]() |
รูปที่31: โปรแกรม Photographer
|
![]() |
รูปที่32: โปรแกรม Photo Base
|
![]() |
รูปที่33: โปรแกรม Philips Camcorder Pro
สำหรับโปรแกรมที่เพิ่มความสามารถของกล้องดิจิตอลติดโทรศัพท์มือถือนั้น สาวก N-GAGE คงไม่ได้ใช้เป็นแน่แท้ แต่รุ่นอื่นใช้ได้แน่นอน โดยที่ผู้เขียนจะแนะนำ โปรแกรม Photographer ที่ซูมได้สูงสุด 1600 เท่า แต่ไม่ชัดเท่าไหร่ ใส่ลูกเล่นได้ ถ่าย Panorama ได้ โปรแกรม Photo Base ที่มีลูกเล่นมากมาย ไม่ว่าจะใส่กรอบสติ๊กเกอร์ ตกแต่งภาพได้ ซูมได้ถึง 400 เท่า (แต่ภาพอาจจะแตกได้) และโปรแกรม Philips Camcorder Pro ที่มีความสามารถในการบันทึก VDO ได้นานจนกว่าหน่วยความจำจะเต็มเลยทีเดียว 11. โปรแกรมตกแต่งรูป |
![]() |
รูปที่34: โปรแกรม Photo Rite
|
![]() |
รูปที่35: โปรแกรม Photo Editor
|
![]() |
รูปที่36: โปรแกรม Splash Photo
|
![]() |
รูปที่37: โปรแกรม Image Plus
เราสามารถตกแต่งรูปภาพบน Symbian Series60 ได้ โดยมีโปรแกรมตกแต่งรูปมากมาย เช่น Photo Rite, Photo Editor, Splash Photo, Image Plus เป็นต้น โดยที่โปรแกรมตกแต่งรูปนั้น ส่วนใหญ่ก็จะมีลูกเล่นคล้ายๆ กัน ลงแค่ 1-2 โปรแกรมก็เพียงพอแล้ว เพียงเท่านี้ ก็ทำให้ตกแต่งภาพถ่ายจากกล้องได้ โดยไม่ต้องพึ่งคอมพิวเตอร์เลยล่ะ 12. โปรแกรมฟังเพลง |
![]() |
รูปที่38: โปรแกรม mp3 Go
|
![]() |
รูปที่39: โปรแกรม mp3 Player
|
![]() |
รูปที่40: โปรแกรม Ultra mp3
|
![]() |
รูปที่41: โปรแกรม mp3 Gravity
|
![]() |
รูปที่42: โปรแกรม OGG Play
ผู้ที่มีดนตรีในหัวใจ คงอดไม่ได้ที่จะลงเพลง mp3 ไว้ฟังในโทรศัพท์มือถือยามเหงา แก้เบื่อขณะขับรถ, นั่งรถเมล์, รถแท็กซี่ หรือบนรถไฟฟ้าก็ยังได้ ซึ่งโปรแกรมเล่นเพลง mp3 นั้น ก็จะมีอยู่ด้วยกัน 4 โปรแกรม คือ mp3 Go, mp3 Player, Ultra mp3 และ mp3 Gravity โดยที่ควรลงแค่โปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งก็เพียงพอแล้ว และไม่เพียงแค่ไฟล์เพลงยอดฮิตอย่าง mp3 เท่านั้น เพลงนามสกุล ogg ก็สามารถเล่นบน Symbian Series60 ได้เช่นกัน โดยเล่นผ่านโปรแกรม OGG Play ครับ หมายเหตุ: สำหรับโทรศัพท์รุ่น Nokia N-GAGE รุ่นแรกไม่ควรลงโปรแกรมเล่นเพลง mp3 เพราะว่า ในตัวเครื่องนั้น สามารถเล่นเพลง mp3 ได้อยู่แล้ว และถ้าลงโปรแกรมเล่น mp3 เพิ่มเข้าไป จะทำให้ไม่สามารถนำ mp3 เป็นเสียงเรียกเข้าได้ 13. โปรแกรมดูหนัง |
![]() |
รูปที่43: โปรแกรม PV Player
|
![]() |
รูปที่44: โปรแกรม Smart Movies
|
![]() |
รูปที่45: โปรแกรม DVD Player
ขีดความสามารถของ Symbian Series60 ยังไม่หมดแต่เพียงเท่านี้ มันยังสามารถเล่นไฟล์ VDO ได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นหนังต่างๆ ที่ถูกแปลงไว้สำหรับเล่นบนโทรศัพท์มือถือ โดยปกติแล้ว จะเล่นได้เพียงไฟล์ที่มีนามสกุล .3gp และ .rm เท่านั้น แต่ว่าถ้าลงโปรแกรม PV Player แล้ว จะทำให้สามารถดูไฟล์ VDO นามสกุล .mp4 ได้ และถ้าหากลงโปรแกรม Smart Movies หรือโปรแกรม DVD Player แล้ว จะทำให้เล่นไฟล์นามสกุล .avi ที่มีความชัดเจนสูงได้อีกด้วย 14. โปรแกรมจัดการ SMS, MMS |
![]() |
รูปที่46: โปรแกรม Face Wave
|
![]() |
รูปที่47: โปรแกรม Message Storer
|
![]() |
รูปที่48: โปรแกรม MUM SMS
เจ้า SmartPhone ตัวเก่งนี้ ยังสามารถเติมแต่งสีสัน เพิ่มลูกเล่นกับ MMS ได้ด้วยโปรแกรม Face Wave ที่ช่วยแต่งเติมสีสันมากมาย มีโปรแกรม Message Storer ที่ช่วยจัดเก็บข้อความในตัวเครื่องไว้ยามฉุกเฉินที่จำเป็นต้องลงเครื่องใหม่ แต่ข้อความทั้งหลายยังคงยู่ โปรแกรม MUMSMS ที่ช่วยซ่อน SMS ไว้ ไม่ให้คนอื่นอ่านได้ 15. โปรแกรมการจัดการการใช้โทรศัพท์ |
![]() |
รูปที่49: โปรแกรม Full Screen Caller
|
![]() |
รูปที่50: โปรแกรม Smart Answer
|
![]() |
รูปที่51: โปรแกรม Sound Cover
|
![]() |
รูปที่52: โปรแกรม Call Cheater
|
![]() |
รูปที่53: โปรแกรม Power Dictaphone
สำหรับการจัดการการใช้โทรศัพท์นั้น ทำได้หลายอย่างมากมายเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม FSCaller (Full Screen Caller) ที่ทำให้แสดงรูปคนโทรเข้าเต็มหน้าจอ โปรแกรม Smart Answer จะช่วยทำเป็นเสียงตอบรับเมื่อสายไม่ว่างได้ โปรแกรม Sound Cover และ Call Cheater ทำเสียงแทรกระหว่างสนทนา เช่น เสียงฝนตก เสียงรถวิ่ง แทรกไปได้ และโปรแกรม Power Dictaphone ทำให้โทรศัพท์มือถือบันทึกเสียงสนทนาได้นานจนกว่าหน่วยความจำจะเต็ม แทนที่จะได้เพียง 1 นาทีตามที่เครื่องทำได้แต่แรก 16. โปรแกรมจัดการระบบต่างๆ ในเครื่อง |
![]() |
รูปที่54: โปรแกรม Keylocker
|
![]() |
รูปที่55: โปรแกรม Skreen Saver
|
![]() |
รูปที่56: โปรแกรม PowerLock
|
![]() |
รูปที่57: โปรแกรม Active Today
|
![]() |
รูปที่58: โปรแกรม eProfile
|
![]() |
รูปที่59: โปรแกรม Smart Launcher
|
![]() |
รูปที่60: โปรแกรม Skin Editor
|
![]() |
รูปที่61: โปรแกรม Zipman
|
![]() |
รูปที่62: โปรแกรม Stacker
|
![]() |
รูปที่63: โปรแกรม Smart V Card
Symbian Series60 นี้ ยังสามารถปรับเติมเสริมแต่งให้ใช้งานง่ายขึ้นได้อีก ด้วยโปรแกรมการจัดการระบบต่างๆ ในเครื่องไม่ว่าจะเป็น Keylocker ที่ตั้งเวลา Lock ปุ่มกดได้ โปรแกรม Skreen Saver และ PowerLock ที่เป็น Screen Saver สวยๆ โปรแกรม Active Today ที่แสดงสถานะต่างๆ ของโทรศัพท์บนหน้าจอหลัก โปรแกรม eProfile ที่ช่วยตั้งเวลาเปลี่ยน Profile ได้ โปรแกรม Smart Launcher ควบคู่กับ Skin Editor ที่ทำให้ Nokia 3650, 3660, 7650, N-GAGE, N-GAGE QD เปลี่ยน icon เปลี่ยน theme ได้เหมือนกับรุ่นที่ใหม่กว่านั้น โปรแกรม Zipman และ Stacker ที่ช่วยบีบอัดขนาดของข้อมูลให้เล็กลง ซึ่งมีประโยชน์มากใน Nokia 7650 ที่มีพื้นที่จำกัด โปรแกรม Smart V Card ที่ช่วย Backup รายชื่อ เบอร์โทรศัพท์ในเครื่องได้ 17. โปรแกรมเล่น ROM เกมส์ต่างๆ |
![]() |
รูปที่64: โปรแกรม Goboy Plus
|
![]() |
รูปที่65: โปรแกรม Yewnes
|
![]() |
รูปที่66: โปรแกรม VNES
|
![]() |
รูปที่67: โปรแกรม Symbnes
|
![]() |
รูปที่68: โปรแกรม Pico Drive
เจ้า Symbian Series60 นี้ สามารถนำ ROM เกมส์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมาเล่นได้ด้วย โดยมี Emulator สำหรับเล่น ROM เกมส์ต่างๆ ดังนี้ GoBoy Plus ใช้เล่น ROM ของ Gameboy, Gameboy Advance และ Gameboy Color โปรแกรม Yewnes, VNES, VSUN และ Symbnes ใช้เล่น ROM ของ Famicom โปรแกรม Pico Drive ใช้เล่น ROM ของ Megadrive 18. โปรแกรมอื่นๆ ที่น่าสนใจ |
![]() |
รูปที่69: โปรแกรม Handy Safe
|
![]() |
รูปที่70: โปรแกรม Splash ID
|
![]() |
รูปที่71: โปรแกรม Mastersoft Money
|
![]() |
รูปที่72: โปรแกรม Handy Expense
|
![]() |
รูปที่73: โปรแกรม mjCalculator
|
![]() |
รูปที่74: โปรแกรม Scientific Calculator
|
![]() |
รูปที่75: โปรแกรม Total IR Remote
|
![]() |
รูปที่76: โปรแกรม Guitar Tuner
ในหมวดนี้ จะเป็นตัวอย่างของโปรแกรมที่ควรมีประดับเครื่องไว้ อาทิ โปรแกรม Handy Safe, Splash ID เอาไว้ใช้เก็บข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญ เช่น เลขบัตรเครดิต เลขที่บัญชีธนาคารต่างๆ รหัสบัตรประชาชน เป็นต้น โปรแกรม Mastersoft Money และ Handy Expense เอาไว้ใช้บันทึกรายรับ-จ่ายประจำวัน โปรแกรม mjCalculator หรือ Scientific Calculator เป็นเครื่องคิดเลขวิทยาศาสตร์ โปรแกรม Total IR Remote ทำให้เปิด-ปิดโทรทัศน์ผ่าน Infrared Port ได้ โปรแกรม Guitar Tuner ใช้ตั้งสายกีตาร์ โปรแกรม Quick Office Premier ใช้อ่านและแก้ไขเอกสาร Microsoft Word และ Excel เป็นต้น |
![]() |
รูปที่77: เกมส์ Skyforce
|
![]() |
รูปที่78: เกมส์ Explode Arena
|
![]() |
รูปที่79: เกมส์ Lockn Load
|
![]() |
รูปที่80: เกมส์ Nightmare Creature
|
![]() |
รูปที่81: เกมส์ The Lord of The Rings
|
![]() |
รูปที่82: เกมส์ Lemonade Tycoon
|
![]() |
รูปที่83: เกมส์ Metal Bluster
อย่างที่กล่าวกันไว้ในตอนแรกว่า Symbian Series60 ทำอะไรได้มากมายหลายอย่างจริงๆ ไหนจะความบันเทิงเต็มรูปแบบ การจัดการไฟล์เอกสารต่างๆ อีกทั้งยังสามารถท่องโลกอินเตอร์เนตได้อีกด้วย ทำให้เจ้า Smart Phone อย่าง Symbian Series60 นั้น ได้รับความนิยมอย่างสูง เพราะราคาไม่แพงเกินไป และเก่งเกินตัวนี่เอง ที่กล่าวมานี้ ยังไม่รวมถึงเกมส์สนุกๆ ที่เล่นได้เฉพาะ Symbian Series60 เท่านั้น ที่มีภาพสวยงาม ละเอียด และสนุกกว่าเกมส์ JAVA อยู่มากทีเดียว เพราะบางเกมส์สามารถเล่นผ่าน Bluetooth กับเครื่องอื่นได้ ซึ่งเกมส์ JAVA ไม่สามารถทำได้ ทางผู้เขียนหวังว่า ผู้ที่ได้อ่านบทความนี้แล้ว คงเห็นความแตกต่างระหว่างโทรศัพท์มือถือธรรมดาๆ กับโทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการ Symbian Series60 อยู่พอสมควรครับ |
ทั้งหมดนี้ เป็นบทความจาก SmartPhonez Magazine เดือนเมษายน และพฤษภาคม 2548
|